ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
ตราสัญลักษณ์
ที่ตั้ง
  • ทิศเหนือ
    พื้นที่ติดต่อกับตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่
  • ทิศใต้
    มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่
  • ทิศตะวันออก
    มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลทุ่งสง อำเภอนาบอน
  • ทิศตะวันตก
    มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่
ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งใหญ่ ประมาณ 10 กิโลเมตร
ระยะห่างจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 92 กิโลเมตร
เนื้อที่
พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลปริกมีเนื้อที่ประมาณ 169 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 105,625 ไร่
ภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ของตำบลปริกเป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาแก้ว เขาลำภู เขาควนเคี่ยม เขาเทียมป่า เขาภูจวง มีลำน้ำสายสำคัญ ลำน้ำคลองกรุงหยัน เป็นคลองแบ่งเขตระหว่างตำบลปริกกับตำบลกรุงหยัน ไหลผ่าน ตำบลปริกในหมู่ที่ 5,6,8,9
  • ลำน้ำคลองสังข์เป็นลำน้ำเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ กว้าง 18-.20 เมตร ยาว ประมาณ 30 กิโลเมตร
  • มีต้นกำเนิดจากภูเขานางนอนไหลผ่านตำบลปริกในหมู่ที่ 8
  • ลำน้ำคลองกลั้งไหลผ่านในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 7 ระยะทาง 13 กิโลเมตร
ลักษณะดิน ของตำบลปริก แบ่งเป็น 2 ประเภท
  • บริเวณที่ราบเป็นเนื้อดินละเอียด มีอินทรีย์วัตถุน้อย
  • บริเวณที่ราบเชิงเขา เป็นเนื้อดินหยาบ มีอินทรีย์วัตถุน้อย
ได้ก่อตั้งขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)
ในราชวงศ์จักรี
เมื่อก่อนทางราชการเรียกว่า"แขวงทุ่งสง"หรืออำเภอทุ่งสงในปัจจุบัน ภายหลังอำเภอทุ่งสงมีประชากรมากขึ้นจึงได้แยกออกมาเป็นอำเภอทุ่งใหญ่ โดยใช้สถานที่ตั้งกิ่งอำเภอไว้ที่ตำบลกุแหระในปัจจุบัน ต่อมาในรัชการสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6) ได้แบ่งการปกครองอำเภอทุ่งใหญ่ ออกเป็น 7 ตำบล และได้รับพระราชทานอนุมัติ ให้ย้ายกิ่งอำเภอกุแหระมาตั้งที่ ตำบลท่ายาง "เรียกว่ากิ่งอำเภอท่ายาง" แต่ได้ตัดตำบลสินปุน และตำบลลำทับ ไปขึ้นอยู่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แต่ในปัจจุบันอำเภอทุ่งใหญ่มี 7 ตำบล โดยเพิ่มตำบลบางรูป และตำบลกรุงหยันเข้ามา
1. ก่อสร้างและบำรุงรักษาเส้นทางคมนาคมได้มาตรฐาน
2. ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบประปาเพียงพอ
3. ก่อสร้างและบำรุงรักษาไฟฟ้าสาธารณะในเขตชุมชนครอบคลุมทั่วพื้นที่
4. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบและนอกระบบ
5. สงเคราะห์ ช่วยเหลือ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
6. อนุรักษ์ สืบสาน ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
7. ส่งเสริม สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
8. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
9. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมด้านสาธารณสุขและสิง่แวดล้อม
10. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันภัยและรักษาความสงบภายใน
1. เส้นทางคมนาคมสายหลักของตำบลเป็นถนนลาดยาง การคมนาคมทุกเส้นทางสะดวกรวดเร็ว
2. ประชาชนมีระบบประปาใช้เพียงพอ ทั่วถึง
3. ประชาชนมีระบบประปาใช้ในเขตชุมชนและทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้
4. ประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับการดูแล ช่วยเหลือ
6. ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่คู่ชุมชน
7. ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เสริม
8. ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
9. ประชาชนมีสุขภาวะดี
10. ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
11. การแพร่ระบาดยาเสพติดลดลง